เมนู
- บทความในฉบับ
- เวทีนักเขียน
- กระดานสนทนา
- สมัครสมาชิก
- หนังสือน่าอ่าน
- ค้นหางานวิจัย
- ส่งบทความ
ฉบับพิเศษ
สิงหาคม 2560
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง






จำนวนผู้เข้าชม
3371909
รายละเอียด


“ถึงแม้นักวิจัยรุ่นใหม่จะสร้างนวัตกรรมอะไรก็ตาม ผลงานการวิจัยส่วนหนึ่งจะต้องมีการตีพิมพ์ นั่นคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของประเทศและประชาคมโลก โดยอาศัยการดำเนินงานแบบสร้างเครือข่ายและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค”
ศ.ดร.สมปองได้กล่าวถึงบทบาทการดำเนินงานที่ผ่านมาของ ฝ่ายวิชาการ สกว. ว่ามีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่มุ่งเน้นสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทย ปัจจุบัน สกว. ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ของประเทศ คือ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ร่วมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโมเดลประเทศไทย 4.0 โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ ด้วยบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงนี้ นักวิจัยรุ่นใหม่ เมธีวิจัย วุฒิเมธีวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จึงต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้ สกว. ได้เน้นย้ำให้นักวิจัยเข้าใจในสถานการณ์และทิศทางการปรับตัวของประเทศไทยใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

2. สถานการณ์ทางสังคม เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบรูณ์ ส่งผลให้กำลังแรงงานลดลงและมีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ส่วนการพัฒนาการศึกษาของคนในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2558 คนไทยใช้ระยะเวลาในระบบการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 8.8 ปี เป็น 9.3 ปี และจากข้อมูล ปี พ.ศ. 2557 มีสัดส่วนคนจนลดลงเหลือร้อยละ 10.5 ซึ่งจะส่งผลให้ความยากจนและความเหลื่อมล้ำลดลง
3. สถานการณ์ด้านสภาพแวดล้อม ประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นฐานการผลิตและบริการที่มีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาต่อยอดได้ มีโอกาสสร้างความร่วมกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations; ASEAN) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (Regional Comprehensive Economic Partnership; RCEP) ตลอดจนมีโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญคือการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกเติบโตช้า ผันผวน ทุกประเทศต้องแข่งขันสูง และความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านและคู่ค้าเพิ่มขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจและสังคมที่มีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ประเทศไทยจึงมีแนวทางสนับสนุนการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา พร้อมผลักดันในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม ลงทุนวิจัยและพัฒนากลุ่มเทคโนโลยีที่ไทยมีศักยภาพ พัฒนาตลาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทย เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 2) พัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการออกแบบและการจัดการธุรกิจ 3) พัฒนาสภาวะแวดล้อมของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะนำไปสู่เป้าหมายของการเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาสู่ร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product; GDP) เพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของเอกชนต่อรัฐบาลเป็น 70:30 และเพิ่มบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 25:10,000 คน


• สนับสนุนและพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อประเทศ ประกอบด้วย 1) วิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ 2) วิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3) วิจัยเพื่อสังคมและชุมชน และ 4) วิจัยเพื่อนโยบาย
• สนับสนุนการลงทุนการวิจัยและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนการวิจัยพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่พัฒนาประเทศ
• สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เมธีวิจัย วุฒิเมธีวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นที่มีคุณภาพและศักยภาพทั้งเชิงวิชาการ เชิงนวัตกรรม และเชิงชุมชน เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ฝ่ายวิชาการ สกว. ยังมีโครงการที่ทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศและสนับสนุนนักวิจัยที่มีความสนใจ ดังนี้
1. โครงการร่วมกับ Newton Fund ประเทศสหราชอาณาจักร เช่น
1.1 ทุน Advanced Fellowship Program (ร่วมกับ Royal Society และ British Academy) สนับสนุนทุนแก่นักวิจัยรุ่นกลาง โดยมี Co-applicant จากประเทศอังกฤษ
1.2 ทุน Joint Health Research Call: TRF-MRC “National Strategic Diseases of Thailand” (ร่วมกับ Medical Research Council–UK)
1. โครงการร่วมกับ Chinese Academy of Sciences (CAS) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
2. โครงการร่วมกับ National Natural Science Foundation of China (NSFC)
ศ.ดร.สมปองกล่าวทิ้งท้ายถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า ถึงแม้นักวิจัยรุ่นใหม่จะสร้างนวัตกรรมอะไรก็ตาม ผลงานการวิจัยส่วนหนึ่งจะต้องมีการตีพิมพ์ นั่นคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของประเทศและประชาคมโลก โดยอาศัยการดำเนินงานแบบสร้างเครือข่ายและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการ สกว. มุ่งหวังให้นักวิจัยรุ่นใหม่สามารถก้าวจากการเป็นอาจารย์สู่ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยฝ่ายวิชาการ สกว. ยินดียืนเคียงข้างและสนับสนุนด้านการวิจัยตลอดเวลา เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปด้วยกัน